การใช้ยางที่ถูกต้อง

1 มีนาคม 2564


การใช้ยางที่ถูกต้อง (Correct Tire Used)

การเลือกใช้ยางรถยนต์ (Tire Selection)
 

ก. ควรเลือกใช้ขนาดของยาง, ชนิดโครงสร้างยาง, ลักษณะดอกยาง และความลึกของร่องดอกยางให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
ข. สําหรับยางที่ใช้ยางในและยางรอง ควรให้ขนาดชนิดของยางในและยางรองเหมือนกับยางนอก
ค. ควรเลือกขนาดความกว้างของกระทะล้อ ที่เหมาะสมกับยางขนาดนั้นๆ

 

การบรรทุกน้ำหนัก

ในกรณีบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา

 

• โครงยางบริเวณแก้มยางหรือขอบยาง หักหรือระเบิดได้ง่าย เนื่องจากไม่สามารถต้านทานต่อน้ำหนักที่ลดลงมา
• ความร้อนภายในยางจะเกิดขึ้นสูงมาก ทำให้การยึดเกาะระหว่างหน้ายางกับโครงยางลดลง และแยกออกจากกันได้ง่าย
• การเคลื่อนไหวของหน้ายางมีมาก ทำให้ยางสึกหรอเร็ว และสึกหรอไม่เรียบทำให้อายุยางลดลง ใช้ยางได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ



การสูบลมยาง (Inflation Pressure)

ข้อควรปฏิบัติ

(ก.) ตรวจเช็คลมยาง และปรับแต่งให้ถูกต้องตามมารตฐานเป็นประจำ ขณะที่ยางยังเย็นอยู่
(ข.) ในกรณีของยางใหม่ ให้เพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คลมยางให้มากกว่าปกติ (ในช่วง 3,000 กม. แรก เนื่องจากโครงยางในช่วงนี้จะมีการขยายตัวทำให้ความดันลมยางลดลง
(ค.) ห้ามปล่อยลมยางออก เมื่อความดันลมยางสูงขึ้นขณะกำลังใช้งาน
(ง.) เพื่อป้องกันลมรั่วซึมที่วาล์ว ควรเปลี่ยนวาล์วและแกนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ และมีฝาปิดวาล์วตลอดเวลา
(จ.) สำหรับยางอะไหล่ ให้ตรวจเช็คลมยางให้ถูกต้องทุกครั้ง
(ฉ.) ในกรณีของยางล้อคู่ เช่น ตำแหน่งล้อหลังรถ 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ ความแตกต่างของความดันลมยางของล้อคู่เดียวกัน ไม่ควรเกิน 5 ปอนด์/ตารางนิ้ว ในกรณีของรถที่วิ่งด้วยความเร็วธรรมดา และไม่ควรเกิน 3 ปอนด์/ตารางนิ้ว ในกรณีของรถที่วิ่งด้วยความเร็วสูง


การใช้ยางที่ถูกต้อง

1 มีนาคม 2564


การใช้ยางที่ถูกต้อง (Correct Tire Used)

การเลือกใช้ยางรถยนต์ (Tire Selection)
 

ก. ควรเลือกใช้ขนาดของยาง, ชนิดโครงสร้างยาง, ลักษณะดอกยาง และความลึกของร่องดอกยางให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
ข. สําหรับยางที่ใช้ยางในและยางรอง ควรให้ขนาดชนิดของยางในและยางรองเหมือนกับยางนอก
ค. ควรเลือกขนาดความกว้างของกระทะล้อ ที่เหมาะสมกับยางขนาดนั้นๆ

 

การบรรทุกน้ำหนัก

ในกรณีบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา

 

• โครงยางบริเวณแก้มยางหรือขอบยาง หักหรือระเบิดได้ง่าย เนื่องจากไม่สามารถต้านทานต่อน้ำหนักที่ลดลงมา
• ความร้อนภายในยางจะเกิดขึ้นสูงมาก ทำให้การยึดเกาะระหว่างหน้ายางกับโครงยางลดลง และแยกออกจากกันได้ง่าย
• การเคลื่อนไหวของหน้ายางมีมาก ทำให้ยางสึกหรอเร็ว และสึกหรอไม่เรียบทำให้อายุยางลดลง ใช้ยางได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ



การสูบลมยาง (Inflation Pressure)

ข้อควรปฏิบัติ

(ก.) ตรวจเช็คลมยาง และปรับแต่งให้ถูกต้องตามมารตฐานเป็นประจำ ขณะที่ยางยังเย็นอยู่
(ข.) ในกรณีของยางใหม่ ให้เพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คลมยางให้มากกว่าปกติ (ในช่วง 3,000 กม. แรก เนื่องจากโครงยางในช่วงนี้จะมีการขยายตัวทำให้ความดันลมยางลดลง
(ค.) ห้ามปล่อยลมยางออก เมื่อความดันลมยางสูงขึ้นขณะกำลังใช้งาน
(ง.) เพื่อป้องกันลมรั่วซึมที่วาล์ว ควรเปลี่ยนวาล์วและแกนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ และมีฝาปิดวาล์วตลอดเวลา
(จ.) สำหรับยางอะไหล่ ให้ตรวจเช็คลมยางให้ถูกต้องทุกครั้ง
(ฉ.) ในกรณีของยางล้อคู่ เช่น ตำแหน่งล้อหลังรถ 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ ความแตกต่างของความดันลมยางของล้อคู่เดียวกัน ไม่ควรเกิน 5 ปอนด์/ตารางนิ้ว ในกรณีของรถที่วิ่งด้วยความเร็วธรรมดา และไม่ควรเกิน 3 ปอนด์/ตารางนิ้ว ในกรณีของรถที่วิ่งด้วยความเร็วสูง