โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์

3 พฤศจิกายน 2564

โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์ (Basic Structure)

การจําแนกประเภทของยางรถยนต์

จําแนกตามลักษณะโครงสร้างของยาง (Basic Structure)


สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ยางเรเดียลและยางผ้าใบ (ยางแบบธรรมดา)
• โครงสร้างแบบธรรมดา (Bias Construction)
โครงยาง (Carcass) ถูกจัดวางให้อยู่แนวทแยง จากขอบยางด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง วางทํามุมกัน 40-65 องศา โดยแต่ละชั้น (Ply) ของโครงยางจะวางสลับกัน และจะมีผ้าใบเสริมหน้ายางคาด ป้องกันโครงยางเอาไว้ด้วย

 

วัสดุที่ใช้

• โครงยางและผ้าใบเสริมหน้ายางประกอบด้วยเส้นใยไนล่อน

คุณลักษณะ

• ให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ที่ดี

• ความทนทานต่อการสึกหรอ และการทรงตัวขณะขับขี่จะด้อยกว่ายางเรเดียล


• โครงสร้างแบบเรเดียล (Radial Construction)
โครงยาง (Carcass) ได้ถูกออกแบบให้มีแนวเส้นคอร์ด (Cord) อยู่ในแนวเส้นตรงจากขอบยาง ด้านหนึ่งไปยังขอบยางอีกด้านหนึ่ง หรือ เส้นคอร์ดไปตามแนวรัศมีของเส้นยางหรือโครงยาง จะวางทํามุม 90 องศา กับเส้นรอบวงยาง โดยมีเข็มขัดรัดหน้ายางคาดยึดโครงยางเอาไว้ในแนว เส้นรอบวง ทําให้หน้ายาง (Tread) มีความแข็งแรง

 

วัสดุที่ใช้

• โครงยาง : เส้นลวดเหล็กกล้า

• เข็มขัดรัดหน้ายาง : ใช้วัสดุยืดตัวน้อย เช่น โพลีเอสเตอร์, เส้นลวดเหล็กกล้า

คุณลักษณะ

• ทนทานต่อการสึกหรอดี

• เกิดความร้อนภายในยางน้อย

• การทรงตัวขณะขับขี่ที่ความเร็วสูงดี

• การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

• หยุดรถได้อย่างมั่นใจ

• พวงมาลัยหนักที่ความเร็วต่ำ


สรุปความแตกต่างระหว่างยางเรเดียลกับยางผ้าใบ



ตารางเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยางรถยนต์ ที่มีโครงสร้างยางแบบต่าง ๆ


ประสิทธิภาพของยางผ้าใบเรเดียล

ความต้านทานต่อการสึกหรอ

1

ดีกว่า 2 - 2.5 เท่า

ความทนทานที่ความเร็วสูง

1

ดีกว่า 1.2 -1.5 เท่า

การทรงตัวที่ความเร็วสูง

1

ดีกว่า 1.3 - 1.5 เท่า

ประสิทธิภาพในการหยุดรถ

1

ดีกว่า 20%

ประสิทธิภาพของยางผ้าใบเรเดียล

ความนุ่มนวลในการขับขี่

1

• ที่ความเร็วต่ำถนนขรุขระ

1

ใกล้เคียง

• ที่ความเร็วสูง

1

เท่ากัน

การประหยัดน้ำมัน

1

ประหยัดกว่า 30%

โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์

3 พฤศจิกายน 2564

โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์ (Basic Structure)

การจําแนกประเภทของยางรถยนต์

จําแนกตามลักษณะโครงสร้างของยาง (Basic Structure)


สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ยางเรเดียลและยางผ้าใบ (ยางแบบธรรมดา)
• โครงสร้างแบบธรรมดา (Bias Construction)
โครงยาง (Carcass) ถูกจัดวางให้อยู่แนวทแยง จากขอบยางด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง วางทํามุมกัน 40-65 องศา โดยแต่ละชั้น (Ply) ของโครงยางจะวางสลับกัน และจะมีผ้าใบเสริมหน้ายางคาด ป้องกันโครงยางเอาไว้ด้วย

 

วัสดุที่ใช้

• โครงยางและผ้าใบเสริมหน้ายางประกอบด้วยเส้นใยไนล่อน

คุณลักษณะ

• ให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ที่ดี

• ความทนทานต่อการสึกหรอ และการทรงตัวขณะขับขี่จะด้อยกว่ายางเรเดียล


• โครงสร้างแบบเรเดียล (Radial Construction)
โครงยาง (Carcass) ได้ถูกออกแบบให้มีแนวเส้นคอร์ด (Cord) อยู่ในแนวเส้นตรงจากขอบยาง ด้านหนึ่งไปยังขอบยางอีกด้านหนึ่ง หรือ เส้นคอร์ดไปตามแนวรัศมีของเส้นยางหรือโครงยาง จะวางทํามุม 90 องศา กับเส้นรอบวงยาง โดยมีเข็มขัดรัดหน้ายางคาดยึดโครงยางเอาไว้ในแนว เส้นรอบวง ทําให้หน้ายาง (Tread) มีความแข็งแรง

 

วัสดุที่ใช้

• โครงยาง : เส้นลวดเหล็กกล้า

• เข็มขัดรัดหน้ายาง : ใช้วัสดุยืดตัวน้อย เช่น โพลีเอสเตอร์, เส้นลวดเหล็กกล้า

คุณลักษณะ

• ทนทานต่อการสึกหรอดี

• เกิดความร้อนภายในยางน้อย

• การทรงตัวขณะขับขี่ที่ความเร็วสูงดี

• การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

• หยุดรถได้อย่างมั่นใจ

• พวงมาลัยหนักที่ความเร็วต่ำ


สรุปความแตกต่างระหว่างยางเรเดียลกับยางผ้าใบ



ตารางเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยางรถยนต์ ที่มีโครงสร้างยางแบบต่าง ๆ


ประสิทธิภาพของยางผ้าใบเรเดียล

ความต้านทานต่อการสึกหรอ

1

ดีกว่า 2 - 2.5 เท่า

ความทนทานที่ความเร็วสูง

1

ดีกว่า 1.2 -1.5 เท่า

การทรงตัวที่ความเร็วสูง

1

ดีกว่า 1.3 - 1.5 เท่า

ประสิทธิภาพในการหยุดรถ

1

ดีกว่า 20%

ประสิทธิภาพของยางผ้าใบเรเดียล

ความนุ่มนวลในการขับขี่

1

• ที่ความเร็วต่ำถนนขรุขระ

1

ใกล้เคียง

• ที่ความเร็วสูง

1

เท่ากัน

การประหยัดน้ำมัน

1

ประหยัดกว่า 30%